อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หรือ PPE (personal protective equipment)
หมายถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่นํามาสวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย หรือหลายส่วนรวมกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อป้องกันของร่างกายส่วนที่สวมใส่ ไม่ให้ได้รับอันตราย หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกัน อันตรายที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทํางานกองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม
แนวคิด เกี่ยวกับการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ควรเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะพิจารณาถึง ดังนั้นหัวหน้างานและผู้ใช้ จะต้องเข้าใจว่าอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลนั้นสามารถ ลดหรือบรรเทาอันตรายลงให้อยู่ในระดับต่ําที่ไม่เป็นอันตรายได้เท่านั้น ไม่ใช่อุปกรณ์ที่จะป้องกันอันตรายได้โดยเด็ดขาด ซึ่งผู้ใช้จะต้องศึกษาทําความเข้าใจและทราบถึงข้อจํากัดของอุปกรณ์ทุกชนิดตลอดจนวิธีใช้
อุปกรณ์ที่ถูกต้องการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล มีหลักการดังนี้
1.) ต้องเลือกใช้ชนิดที่สามารถป้องกันอันตรายได้เฉพาะเป็นอย่างๆ
2.) ต้องสวมใส่สบาย มีน้ําหนักเบาเป็นพิเศษ เพื่อให้ทํางานได้คล่องตัว
3.) ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายสูง
4.) มีราคาเหมาะสม หาซื้อได้ง่าย
5.) วิธีการใช้เครื่องป้องกันจะต้องไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากเกินไป เพราะคนที่ใช้ส่วนใหญ่จะไม่มีความรู้ทําให้ใช้ได้ไม่ถูกต้อง
6.) ควรจะมีสีเด่นสะดุดตาและต้องเป็นสีที่ดู แล้วสะอาดตาน่าใช้
7.) ทนทานต่อการใช้งาน เมื่อชํารุดเสียหายก็ซ่อมแซมได้ง่ายและหาอุปกรณ์ประกอบได้ง่าย
8.) เก็บรักษาง่าย ไม่ต้องมีวิธีพิเศษมากมาย
ทั้งนี้ ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความตระหนักในอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของระบบไฟฟ้า ตั้งแต่ แหล่งจ่ายไฟฟ้า การเดินสายและการติดตั้งระบบ มาจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้งาน ดังนั้น หากมีการติดตั้งระบบที่ดี เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันได้อย่างเหมาะสม และมีการจัดการการเข้าใกล้ส่วนที่มีไฟฟ้าแล้ว การเลือกใช้อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล จะช่วยลดการเกิดอุบัติภัยในสถานประกอบการได้มากยิ่งขึ้น
มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานได้ออก ประกาศเรื่อง กําหนดมาตรฐานอุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 โดยกําหนดให้มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคล ได้แก่
1.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
2.) มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (ISO)
3.) มาตรฐานสหภาพยุโรป (EN)
4.) มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (AS/NZS)
5.)มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (ANSI)
6.) มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (JIS)
7.)มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทํางานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (NOSH)
8.) มาตรฐานสํานักงานบริหารความปลอดภัยและอนามัยแห่งชาติ กรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (OSHA)
9.) มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (NFPA)
แบ่งประเภทอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วน
บุคคลตามอวัยวะในส่วนที่ใช้ป้องกันไว้ดังนี้
1) อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ
2) อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและใบหน้า
3) อุปกรณ์ป้องกันหู
4) อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ
5) อุปกรณ์ป้องกันมือและแขน
6) อุปกรณ์ป้องกันลําตัว
7) อุปกรณ์ป้องกันเท้า
8) อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง
ชนิดของหมวกนิรภัยมาตรฐาน มอก. 368-2554
แบ่งหมวกนิรภัยตามการใช้งานเป็น 3 ชนิด คือ
1) ชนิด E (electrical) หมายถึง หมวกนิรภัยที่ใช้เพื่อลดแรงกระแทกของวัตถุ และ ลดอันตรายอันอาจเกิดจากการสัมผัสกับตัวนําไฟฟ้าแรงดันสูง ทนแรงดันไฟฟ้าทดสอบ 20,000 โวลต์
2) ชนิด G (general) หมายถึง หมวกนิรภัยที่ใช้เพื่อลดแรงกระแทกของวัตถุ และลด อันตรายอันอาจเกิดจากการสัมผัสกับตัวนําไฟฟ้าแรงดันต่ํา ทนแรงดันไฟฟ้าทดสอบ 2,200 โวลต์
3) ชนิด C (conductive) หมายถึง หมวกนิรภัยที่ใช้เพื่อลดแรงกระแทกของวัตถุ เท่านั้น ไม่ช่วยป้องกันไฟฟ้าใด ๆ ทั้งสิ้น
ประเภทของถุงมือนิรภัย
ถุงมือนิรภัยสําหรับป้องกันไฟฟ้า เป็นถุงมือฉนวนไฟฟ้าที่ต้องสวมทับด้วยถุงมือหนังเพื่อ ป้องกันการเสียดสี การบาด การฉีกขาด การเจาะทะลุ ของถุงมือฉนวนไฟฟ้า โดยถุงมือฉนวนไฟฟ้าสามารถ แบ่งประเภท (class) ตามมาตรฐาน EN60903:2003 ได้ดังนี้1) class 00 สําหรับป้องกันระดับแรงดันไฟฟ้าใช้งานสูงสุด 500 โวลต์
2) class 0 สําหรับป้องกันระดับแรงดันไฟฟ้าใช้งานสูงสุด 1,000 โวลต์
3) class 1 สําหรับป้องกันระดับแรงดันไฟฟ้าใช้งานสูงสุด 7,500 โวลต์
4) class 2 สําหรับป้องกันระดับแรงดันไฟฟ้าใช้งานสูงสุด 17,000 โวลต์
5) class 3 สําหรับป้องกันระดับแรงดันไฟฟ้าใช้งานสูงสุด 26,500 โวลต์
6) class 4 สําหรับป้องกันระดับแรงดันไฟฟ้าใช้งานสูงสุด 36,000 โวลต์